บทความ

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 26 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556


การเรียน การสอน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้/ กิจกรรม ประจำสัปดาห์

การจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้
-                   สภาพแวดล้อม
-                   ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก
1.              ไม่สามารถเรียนได้
2.             รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อน และะ ครูไม่ได้
3.             มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
4.             มีความคับข้องใจ และ เก็บกด
5.             แสดงอาการทางร่างกาย ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
6.             หวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมถือว่ารุนเเรงมาก
เด็กสมาธิสั้น (ADHD) เด็กซุกซนไม่อยู่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอด เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันเเล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กพวกนี้เรียกว่า Attention Deficit Disorders หรือ (ADD)
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมเเละอารมณ์
1.             อุจจาระ ปัสสาวะรดที่นอน
2.             ติดขวดนม ตุ๊กตา ดูดนิ้ว กัดเล็บ
3.             หงอยเหงา เศร้าซึม หนีสังคม
4.             เรียกร้องความสนใจ
5.             อารมณ์หวั่นไหวต่อสิ่งเร้า
6.             ขี้อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว
7.             ฝันกลางวัน
8.             เพ้อเจ้อ
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- เรียกย่อๆว่า LD ( Learning Disability)
- มีปัญหาทางการเรียนรู้เพราะอย่าง
- มีปัญหาทางการพูด การเขียน
-ไม่รวมกับเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน
- เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
ลักษณะของเด็กLDที่พอสังเกตได้
1.             มีปัญหาทางคณิตศาสตร์
2.             ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
3.             เล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
4.             มีปัญหาทางด้านการอ่าน การเขียน
5.             ซุ่มซ่าม
6.             รับลูกบอลไม่ได้
7.             ติดกระดุมไม่ได้
8.             เอาแต่ใจ
เด็กออทิสติก
1.             เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรมทางสังคมเเละความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
2.              เด็กเเต่ละคนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
3.             ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
4.             ทักษะทางภาษาต่ำ
5.              ทักษะทางสังคมต่ำ
6.              ทักษะการเคลื่อนไหวต่ำ
7.              ทักษะทางรูปทรง ขนาดต่ำ
ลักษณะของเด็กออทิสติก
1.             อยู่ในโลกของตนเอง
2.             ไม่เข้าไปหาใคร ไม่ต้องการให้ใครมาปลอบใจ
3.             ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
4.             ไม่ยอมพูด
5.             เคลื่อนไหวเเบบช้าๆ
6.             ยึดติดวัตถุ
7.             ต่อต้านหรือเเสดงกิริยาอารมณ์รุนเเรงไร้เหตุผล
8.             มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก
9.             ใช้วิธีการสัมผัสเเละเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีการที่เเตกต่างไปจากคนอื่น
เด็กพิการซ้อน
1.             บกพร่อง 2 อย่างขึ้นไป เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องการเรียนรู้อย่างมาก
2.             เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
3.             เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด

4.             เด็กหูหนวกตาบอด











สิ่งที่ต้องศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม

- เอกสารประกอบการเรียนการสอน

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่3

วันอังคาร ที่19 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

การเรียน การสอน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้/ กิจกรรม ประจำสัปดาห์


เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างและสุขภาพ

- เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน

- อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
- มีปัญหาทางระบบประสาท
- มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

      จำแนกเป็น 2 ประเภท

1. อาการบกพร่องทางร่างกาย
2. ความบกพร่องทางสุภาพ

อาการบกพร่องทางร่างกาย

1. ซี พี Cebral palsy  

อัมพาต สมองพิการ สมองโดนทำร้าย ความบกพร่องที่เกิดส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน

อาการ

- อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก

- ลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ
- สูญเสียการทรงตัว
- ตึงแข็ง
- แบบผสม

2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง

- เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุม กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว
- เดินไม่ได้นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
- จะมีความพิการซ้อนในระยะหลังคือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม



3. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ

    ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิน
        เช่น เท้าปาก Club Foot กระดูกข้อสะโพก เคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูก
    ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิกา่รด้วยโรคติดเชื้อ 
        เช่น วัณโรค กระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ



4. โปลิโอ Poliomyelitis 

อาการ กล้าเนื้อลีบ เล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา ยืนไม่ได้ หรือ อาจปรับสภาพให้ยืน เดิน ได้ด้วยอุปกรณ์

5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด ขาดหายไปของแขนหรือขาตั้งแต่หนึ่งส่วนหรือมากกว่านั้น การผิดรูปของแขนหรือขา หรือการขาดหายไปของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ





6.โรคกระดูกอ่อน  สาเหตุของโรคกระดูกอ่อนโดยทั่วไป เกิดจากการขาดวิตามินดี แคลเซียม หรือ ฟอสฟอรัส อาการที่เด่นชัดของโรคกระดูกอ่อนคือ การที่กระดูกไม่สามารถเก็บแคลเซียมไว้ได้ เนื้อเยื่อกระดูกจึงอ่อนทำให้เกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อกระดูกต้องไปรับน้ำหนักตัวซึ่งไม่สามารถที่จะรองรับน้ำหนักเช่นนั้นได้ ทำให้รูปทรงของกระดูกเปลี่ยนไป ขาโก่งออกหรือขาถ่างออกและเข่าชนติดกัน กระดูกซี่โครงแอ่นออก 
ความบกพร่องทางสุภาพ



1. โรคลมชัก Epilepsy ความผิดปกติของระบบสมอง
  1.1 ลมบ้าหมู อาการ เวลาชักจะทำให้หมดสติ หมดความรู้สึก กล้ามเนื้อเกร็ง หรือ  แขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
   1.2 การชักในช่วงเวลาสั้นๆ
    - เป็นอาการชักชั่วระยะเวลาสั้นๆ 5-10 วินาที
    - เมือเกิดอาการจะงัก ในท่าก่อนชัก
    - เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั้นเล็กน้อย




2.โรคระบบทางเดินหายใจ  โรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอวัยวะในระบบนี้เริ่มตั้งแต่ จมูก ช่องคอ ไซนัส ท่อลม หลอดลม และปอด

สาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย คือ จากการติดเชื้อโรค โดยที่พบได้บ่อย คือ ติดเชื้อไวรัส (เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ โรคปอดบวม) รองลงไปคือติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่น โรคไอกรน โรคคอตีบ วัณโรค โรคปอดอักเสบ โรคปอดบวม) รองลงมาคือ จากภูมิแพ้ เช่น โรคภูมิแพ้ และโรคหืด นอกจากนั้นที่อาจพบได้ เช่น โรคเนื้องอก และโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งกล่องเสียง โรคมะเร็งปอด 


3. โรคเบาหวาน  เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้


4.โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายข้อตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ เนื้อเยื่อรอบข้อ อาการที่สำคัญคือปวดข้อและอาการนอกข้อ











5.โรคศีรษะโต เนื่องจากท่อทางเดินน้ำหล่อสมองและไขสันหลังอุดตัน ทำให้น้ำที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง ซึ่งปกติเป็นตัวคอยป้องกัน และหล่อเลี้ยงสมองไม่ให้กดทับกับส่วนกะโหลก เกิดคั่งจนท่วมอยู่ในสมอง จนความดันในช่องสมองมีสูง ดันได้ช่องสมองโตออกจนไปเบียดเนื้อสมอง และดันกะโหลกศีรษะให้โตออก จนมีขนาดใหญ่ผิดปกติ



6.โรคหัวใจ  ภาวะที่ผนังหลอดเลือดหัวใจมีคราบไขมันเกาะติด เรียกว่าภาวะหลอดเลือดแข็งหรือหลอดเลือดตีบ คราบไขมันนี้ทำให้การไหลเวียนเลือดติดขัด การขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายจึงลดลงด้วย หากการอุดตันเกิดขึ้นกับหลอดเลือดขนาดเล็กที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือภาวะหัวใจพิบัติ


7.โรคมะเร็ง  กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง


8. เลือดไหลไม่หยุด  เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้ พบผู้ป่วยที่เป็นเพศชายเท่านั้น ส่วนผู้หญิงจะเป็นพาหะที่ไม่แสดงอาการ แต่สามารถถ่ายทอดยีนส์ผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้ปกติกลไกการห้ามเลือด อาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างการหดตัวของหลอดเลือด การเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด และการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกันของโปรตีนหลายชนิด เรียกโปรตีนเหล่านี้ว่า แฟคเตอร์ (coagulation factors) เมื่อเกิดบาดแผลจะมีเลือดไหลออกมา และโปรตีนเหล่านี้จะช่วยทำให้เลือดแข็งตัวและหยุดไหล แต่ถ้าขาดแฟค เตอร์ตัวหนึ่งตัวใดไป เช่น แฟคเตอร์ 8เรียกว่า โรคฮีโมฟีเลีย เอ (Hemophilia A) หรือขาดแฟคเตอร์ 9เรียกว่า โรคฮีโมฟีเลีย บี (Hemophilia B) ก็จะทำให้เลือดไหลไม่หยุด




เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

-  เด็กกลุ่มนี้พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ออกเสียงไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน การใช้อวัยวะในการพูดไม่เป็นไปตามตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด

1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
1.1 ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
1.2 เพิ่มหน่วยเสียงในคำโดยไม่จำเป็น
1.3 เอาเสียงหนึ่งแทนเสียงหนึ่่ง
2. ผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น พูดรัว พูดติดอ่าง
3. ผิดปกติด้านเสียง ระดับเสียง ความดัน คุณภาพ
4. ความผิดปกติทางการพูดเเละภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ Aphasia
4.1 Motor Aphasia  เข้าใจคำถามหรือคำสั่งเเต่พูดไม่ได้ออกเสียงลำบาก พูดช้า พูดไม่ถูกไวยากรณ์
4.2 Wernioke's Aphasia  ไม่เข้าใจคำถามได้ยินเเต่ไม่เข้าใจ ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆหรือใช้คำอื่นที่ไม่มีความหมายมาแทน
4.3 Conduction Aphasia  เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดีแต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
4.4 Nominal Aphasia เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามก็พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อ
4.5 Global Aphasia  ไม่เข้าใจทุกภาษา พูดไม่ได้เลย
4.6 Sensory Agraphia เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
4.7 Motor Agraphia เด็กที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ เขียนตามคำบอกไม่ได้
4.8 Cortical Alexia  อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
4.9 Motor Alexia   เด็กที่เห็นตัวเขียน ตัวพิมพ์ เข้าใจความหมายเเต่อ่านไม่ได้
4.10 Gerstmann's Syndrome   ไม่รู้ซื่อนิ้ว ไม่รู้ซ้าย ขวา คำนวณไม่ได้ เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก หนักมาก
4.11 Visual Agnosia    เด็กที่มองเห็นวัตถุเเต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วไม่ได้
4.12 Auditory Agnosia    เด้กที่ไม่มีปัญหาทางการได้ยินเเต่แปลความหมายของคำเเละประโยชน์ไม่ได้ยิน








สิ่งที่ต้องศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม

 -  ศึกษาเอกสารเพิ่มเติม ตามในบทเรียน
 -  กลับบ้านมา ศึกษาเพิ่มเติม เว็บเซ็ป ตามเนื้อหารายวิชานั้นๆ เพิ่มเติม







วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 12 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556


การเรียน การสอน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้/ กิจกรรม ประจำสัปดาห์

- ดู POWER POINT เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
 และสรุปเป็นองค์ความรู้










ออกไปสาธิตการมองเห็น